เมนู

[52] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็การวางภาระเป็นไฉน ความที่
ตัณหานั่นแล ดับไปด้วยสำรอกโดยไม่เหลือ ความสละ ความสละคืน
ความพ้น ความไม่อาลัย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าการวางภาระ
พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้พระสุคตศาสดา ครั้นได้ตรัสไวยากรณภาษิตนี้
จบลงแล้ว จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีกในภายหลังว่า
[53] ขันธ์ 5 ชื่อว่าภาระแล และผู้แบกภาระคือบุคคล การถือ
ภาระเป็นเหตุนำมาซึ่งความทุกข์ในโลก การวางภาระเสียได้เป็นสุข
บุคคลวางภาระหนักเสียได้แล้ว ไม่ถือภาระอื่น ถอนตัณหาพร้อมทั้ง
มูลรากแล้ว เป็นผู้หายหิว ดับรอบแล้วดังนี้.

จบ ภารสูตรที่ 1

อรรถกถาภารวรรคที่ 3



อรรถกถาภารสูตรที่ 1



ภารวรรค ภารสูตรที่ 1

มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้. ปญฺจุปาทานกฺขนฺ-
ธาติสฺส วจนียํ
ตัดเป็น ปญฺจุปาทานกฺขนฺขา อิติ อสฺส วจนียํ ความว่า
เป็นข้อที่จะพึงตรัสอย่างนั้น. บทว่า อยํ วุจฺจติ ภิกฺขเว ภาโร ความว่า
อุปาทานขันธ์ 5 ท่านกล่าวว่าเป็นภาระ. ถามว่า ด้วยอรรถว่ากระไร?
แก้ว่า ด้วยอรรถว่าเป็นภาระที่จะต้องบริหาร. จริงอยู่ อุปาทานขันธ์ 5
เหล่านั้น จำต้องบริหารด้วยการให้ยืน ให้เดิน ให้นั่ง ให้นอน ให้อาบน้ำ
แต่งตัว ให้เคี้ยว ให้กิน เป็นต้น จึงชื่อว่าเป็นภาระ(ของหนัก) เพราะฉะนั้น
ท่านจึงเรียกว่า ภาระเพราะอรรถว่าเป็นภาระจะต้องบริหาร.

บทว่า เอวํนาโม ได้แก่มีชื่อเป็นต้นว่า ติสสะ ว่าทัตตะ บทว่า
เอวํโคตฺโต ได้แก่ มีโคตรเป็นต้นว่า กัจจายนโคตร วัจฉายนโคตร.
ดังนั้น ทรงแสดงบุคคลที่สำเร็จเพียงโวหาร ให้ชื่อว่า ภารหาระ-
ผู้แบกภาระ
จริงอยู่บุคคล ยกขันธภาระขึ้นในขณะปฏิสนธินั้นเอง
แล้วให้ขันธ์นี้ อาบ บริโภค นั่ง นอน บนเตียงและตั่ง ที่อ่อนนุ่มแล้ว
บริหาร 10 ปีบ้าง 20 ปีบ้าง 30 ปีบ้าง 100 ปีบ้าง จนตลอดชีวิต
แล้วทิ้งไปในจุติขณะ ยึดเอาขันธ์อื่นในปฏิสนธิขณะอีก เพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่าผู้แบกภาระ.
บทว่า โปโนพฺภวิกา ได้แก่ที่เกิดในภพใหม่. บทว่า นนฺทิราคสหคตา
ได้แก่ถึงความเป็นอันเดียวกันกับนันทิราคะนั่นเอง ในที่นี้ท่านประสงค์ว่า
เกิดพร้อมกับความเป็นนันทิราคะนั้น. บทว่า ตตฺร ตตฺราภินนฺทินี ได้แก่
มีปกติยินดีในที่เกิดหรือในอารมณ์มีรูปเป็นต้นนั้นๆ. ในกามตัณหา
เป็นต้น ความยินดีอันเป็นไปในกามคุณ 5 ชื่อว่า กามตัณหา ความยินดี
ในรูปภพและอรูปภพ ความติดอยู่ในฌาน ความยินดีที่เกิดพร้อมด้วย
สัสสตทิฏฐิ นี้ชื่อว่า ภวตัณหา ความยินดีที่เกิดพร้อมกับอุจเฉททิฏฐิ
ชื่อว่า วิภวตัณหา. บทว่า ภาราทานํ ได้แก่ การถือภาระ. จริงอยู่บุคคลนี้
ย่อมถือภาระด้วยตัณหา.
บทว่า อเสสวิราคนิโรโธเป็นต้นทั้งหมดเป็นไวพจน์ของนิพพาน
นั้นเอง. จริงอยู่ ตัณหามาถึงพระนิพพานนั้นแล้ว ย่อมคลายความยินดี
ย่อมดับ ย่อมละขาด ย่อมสละคืน ย่อมหลุดพ้น โดยไม่มีส่วนเหลือ
ก็ในพระนิพพานนี้ไม่มีอาลัยคือกาม หรืออาลัยคือทิฏฐิ ฉะนั้น
พระนิพพานจึงได้ชื่อเหล่านี้. บทว่า สมูลํ ตณฺหํ ความว่า อวิชชาชื่อว่า

เป็นมูลของตัณหา. บทว่า อพฺพุยฺห ได้แก่ ถอนตัณหานั้นพร้อมทั้งราก
ด้วยอรหัตตมรรค. บทว่า นิจฺฉาโต ปรินิพฺพุโต ความว่า ผู้ออกจากตัณหา
จะเรียกว่า ผู้ปรินิพพานแล้ว ก็ควรแล.
จบ อรรถกถาภารสูตรที่ 1

2. ปริญญาสูตร



ว่าด้วยธรรมที่ควรกำหนดรู้และความกำหนดรู้



[54] กรุงสาวัตถีฯ ณ ที่นั้นแล ฯลฯ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
เราจักแสดงธรรมที่ควรกำหนดรู้และความกำหนดรู้ เธอทั้งหลายจงฟัง
ดูก่อนภิกษุทั้งหลายก็ธรรมที่ควรกำหนดรู้เป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
รูปเป็นธรรมที่ควรกำหนดรู้ เวทนา สัญญา สังขารและวิญญาณ
เป็นธรรมที่ควรกำหนดรู้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เหล่านี้เรียกว่าธรรมที่
ควรกำหนดรู้.
[55] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ความกำหนดรู้เป็นไฉน คือ
ความสิ้นไปแห่งราคะ ความสิ้นไปแห่งโทสะ ความสิ้นไปแห่งโมหะ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าความกำหนดรู้.
จบ ปริญญาสูตรที่ 2

อรรถกถาปริญญาสูตรที่ 2



ในปริญญาสูตรที่ 2 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า ปริญฺเญยฺเย แปลว่า พึงกำหนดรู้ อธิบายว่า พึงก้าวล่วง
ด้วยดี. บทว่า ปริญฺญํ ได้แก่กำหนดรู้ล่วงส่วน อธิบายว่า ก้าวล่วงด้วยดี.